top of page
ค้นหา

ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ด้วยการผลิตซิลิกาจากแกลบข้าว




การใช้ประโยชน์จากแกลบข้าว (Rice Husk Utilization) ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีการเผาแกลบในพื้นที่เปิด จนสร้างมลภาวะกระทบต่อคุณภาพของอากาศและสุขภาพของผู้คน จน ณ ปัจจุบันที่มีการเผาแกลบข้าวเป็นเชื้อเพลิงในโรงสีหรือโรงไฟฟ้าไบโอแมส ก็ยังคงไม่วายเป็นปัญหาเช่นเคย ทั้งจากปัญหาขี้เถ้าแกลบที่กลายเป็นขยะจากการเผาไหม้และถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย และมลพิษจากการเผาไหม้ที่ถูกปล่อยออกสู่อากาศเป็นจำนวนมากไม่ต่างจากเดิม


โดยในการเผาแกลบแบบปกติ 100 กิโลกรัม จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศถึง 124 กิโลกรัม และก๊าซไนโตรเจนอีกกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าการเผาแบบอื่น ๆ ทั้งนี้ มลพิษเหล่านี้สามารถควบคุมได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีการเผาแบบปิด ที่ออกแบบเฉพาะเจาะจงในการควบคุมการเผาไหม้ จากผลการทดสอบเทคโนโลยีการเผาแกลบข้าวของเอกะซิล เพื่อใช้ในการผลิตซิลิกาจากแกลบข้าว พบว่าการเผาแกลบปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 2 กิโลกรัมเท่านั้น และในส่วนของก๊าซไนโตรเจน มีการตรวจพบในระดับที่น้อยมากจนเกือบเป็นศูนย์ ซึ่งถ้าเทียบกับการเผาแกลบแบบทั่วไปแล้ว จะพบว่าการเผาแกลบจำนวนหนึ่งตันด้วยเทคโนโลยีการเผาของเอกะซิล สามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1.2 ตัน และก๊าซไนโตรเจนได้ถึง 1 ตัน


ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเทคโนโลยีการผลิต ไม่ว่าจะเป็นโซเดียมซิลิเกต ซิลิกา และคาร์บอน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันจากการผลิตโดยทั่ว ไปด้วย หากวันนี้เราเปลี่ยนมาใช้ซิลิกาจากแกลบข้าวของเอกะซิล แทนซิลิกาจากทรายในท้องตลอดในปริมาณ 1 ตัน เราจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้กว่าครึ่งหนึ่ง หรือกว่า 100 กิโลกรัมเลยทีเดียว

Comments


bottom of page